วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โครงการอบรมอุดมการณ์ความรักชาติในการรวมแถวของกำลังพล รพ.รร.จปร.

หน่วยที่เสนอโครงการ ฝ่ายกำลังพล โรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ผู้รับผิดชอบโครงการ พันโท พรมทอง บุญจันทร์
ตำแหน่ง ประจำกอง โรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ที่อยู่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก รหัสไปรษณีย์ ๒๖๐๐๑
โทรศัพท์ ๐๓๗-๓๙๓๐๐๓
โทรสาร ๐๓๗-๓๙๓๐๐๓
๒. วัตถุประสงค์
๑. เพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ทหารทั้งด้านคุณธรรมและจริยธรรมแก่กำลังพลทุกระดับของหน่วย
๒.เป็นการสนองนโยบายการพัฒนากำลังพลของกองทัพบก
ด้วยเหตุผลดังกล่าวฝ่ายกำลังพล โรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าจึงจัดทำโครงการอบรมอุดมการณ์ความรักชาติในการรวมแถวตอนเช้าของข้าราชการ เพื่อมุ่งมั่นที่จะดำเนินการสร้างเสริมอุดมการณ์ความรักชาติของกำลังพลทุกระดับให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
๓. วิธีดำเนินการ/กิจกรรมหลัก
๑. จัดตั้งคณะกรรมการกำหนดรูปแบบและขอบเขตเนื้อหาในการดำเนินงานตามโครงการ ฯ
๒. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการจัดเตรียมเนื้อหา
๓. จัดทำตารางการปฏิบัติสำหรับการอบรม ในทุกวันอังคาร วันพุธ และวันพฤหัสบดี เวลาประมาณ ๐๘๒๐
๔. ชี้แจงทำความเข้าใจกับกำลังพลให้ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญในการสร้างเสริมอุดมการณ์ความรักชาติ
๔. การประเมินผล
ในการวัดความสำเร็จว่าผลที่ได้รับเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่นั้น ฝ่ายกำลังพลโรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ดำเนินการประเมินผล ดังนี้
๔.๑ . ตัวชี้วัด
๔.๑.๑ ด้านขบวนการดำเนินงาน
๔.๑.๑.๑ การประเมินกิจกรรมเป็นไปตามแผน ร้อยละ ๑๐๐
๔.๑.๑.๒ กำลังพลทุกหน่วยเข้าร่วมโครงการ ฯ อย่างน้อยวันละ ๑ นาย
๔.๑.๒ ด้านผลการดำเนินงาน
๔.๑.๒.๑ กำลังพลมีความเข้าใจในเนื้อหาการอบรมในระดับมาก(เกินกว่าร้อยละ๘๐)
๔.๑.๒.๒ ไม่พบอุบัติการณ์ร้องเรียนเกี่ยวกับความผิดด้านระเบียบวินัย ต่างๆ

๕. งบประมาณ
ขอรับสนับสนุนจาก รพ.รร.จปร. จำนวน ๑,๘๐๐ บาท (หนึ่งพันแปดร้อยบาทถ้วน) เพื่อดำเนินการดังนี้
๕.๑ ค่าเตรียมเอกสารและสื่อสำหรับการการอบรม เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท
๕.๒ จัดบอร์ดความรู้เพื่อประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน ๕๐๐ บาท
๕.๓ จัดทำเอกสารประเมินผลโครงการ ฯ เป็นเงิน ๓๐๐ บาท

๖. ผลที่คาดว่าจะได้รับ กำลังพลของ รพ.รร.จปร.ที่เข้าร่วมโครงการ ฯจะได้รับประโยชน์จากดำเนินการเพื่อสร้างเสริมอุดมการณ์ความรักชาติของหน่วย และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฎิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างให้มีประสิทธิภาพ

๗. การขยายผล จะสามารถเผยแพร่ขยายผลไปยังกำลังพล หน่วยงานอื่นๆ เช่น พลทหาร มว.พล.สร.รพ.รร.จปร.

โครงการสร้างเสริมสุขภาพบุคลากร รพ.รร.จปร.

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเป็นปัญหาสำคัญที่พบในกลุ่มประชากรต่างๆ ทั้งในสังคมเมืองและสังคมชนบท พบได้ทั้งในเพศชายที่มีรอบเอวตั้งแต่ ๙๐ เซนติเมตรขึ้นไป และเพศหญิง ที่มีรอบเอวตั้งแต่ ๘๐ เซนติเมตรขึ้นไป เรียกโรคอ้วนลงพุง ( ในเพศหญิงมักลงสะโพก ) เป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่นน้ำตาลในเลือดสูง , โรคความดันโลหิตสูง , โรคไขมันในเลือดสูง , โรคเบาหวาน , โรคหลอดเลือดหัวใจ ,โรคหลอดเลือดสมอง โดยรอบเอวที่เพิ่มขึ้นทุกๆ ๕ เซนติเมตร จะเพิ่มโอกาสเกิดโรคเบาหวาน ๓ – ๕ เท่า จากการตรวจประเมินสุขภาพของข้าราชการ และลูกจ้าง รพ.รร.จปร. ปี ๒๕๕๒ จำนวน ๑๑๕ ราย พบว่ามีผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายผิดปกติ ๘๐ ราย ( คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๕๗ ) , ภาวะน้ำหนักเกิน ๓๓ ราย ( คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๖๙ ), โรคอ้วน ๑๔ ราย ( คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๑๗ ) , ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ๑๙ ราย ( คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๑๗ ) , โรคความดันโลหิตสูง ๑๒ ราย ( คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๔๔ ), โรคไขมันในเลือดสูง ๔๗ ราย( คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๗๕ ) , โรคเก๊าท์ ๒๐ ราย ( คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๓๒ ) และทุกกลุ่มยังมีพฤติกรรมเสี่ยงในการดูแลสุขภาพในเรื่องของการรับประทานอาหาร , การออกกำลังกายและความเครียด
จากการดำเนินการโครงการรักษ์สุขภาพในปี ๒๕๕๐ พบว่าทุกกลุ่มชมรมสามารถลดค่าดัชนีมวลกาย ( ค่า BMI )ได้ภายในระยะเวลา ๙ เดือน แต่ยังมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ปกติ แต่เนื่องจากปัจจุบันไม่มีโครงการที่สอดคล้องกับการดำเนินการดังกล่าว ทำให้ขาดความต่อเนื่อง รพ.รร.จปร. ในฐานะที่เป็นสถานที่ซึ่งให้บริการทางการแพทย์ ในพื้นที่ รร.จปร. และบริเวณใกล้เคียงโดยรอบซึ่งมีบทบาทสำคัญในการป้องกันและการรักษาโรคตลอดจนการส่งเสริมและฟื้นฟู จึงเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพบุคลากร โดยการรณรงค์เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในมหันตภัยที่เกิดจากภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนลงพุง แก่กำลังพล จึงได้มีการจัดกิจกรรมตามสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการป้องกันตนเอง, ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง และสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วย , สมาชิกในครอบครัวและบุคคลอื่นๆได้อย่างถูกต้องเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีซึ่งจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อพัฒนาศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง ในการแก้ไขปัญหาน้ำหนักเกินและ
โรคอ้วนของกำลังพล รพ.รร.จปร.
๒. เพื่อรณรงค์การป้องกันและลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคอ้วนในพื้นที่ รร.จปร.
๓. เพื่อให้กำลังพล ,ผู้ป่วยและญาติตลอดจนผู้สนใจทั่วไป มีความรู้ และทัศนคติในการหลีกเลี่ยง
พฤติกรรมเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนลงพุง

ตัวชี้วัด
๑. ผู้เข้าร่วมโครงการ ฯ ทุกนาย สามารถลดน้ำหนักได้ อย่างน้อย ๑ ระดับ
๒. ผู้เข้าร่วมโครงการ ฯ สามารถลดน้ำหนักได้ อย่างน้อย ร้อยละ ๕๐
๓. ผู้เข้าร่วมโครงการ ฯ สามารถลดน้ำหนักได้อย่างยั่งยืน อย่างน้อย ร้อยละ ๒๐

สถานที่ดำเนินการ
บริเวณที่รวมพลด้านหลังกองตรวจโรค รพ.รร.จปร.

วิธีดำเนินการ
๑. รวบรวมข้อมูลผลการตรวจร่างกายข้าราชการ รพ.รร.จปร. ปี ๒๕๕๒และผลการดำเนิน
โครงการรักษ์สุขภาพ รพ.รร.จปร. ปี ๒๕๕๐ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเปรียบเทียบผลการดำเนินโครงการ
๒. ชี้แจงวิธีการดำเนินการโครงการ ฯ ให้ บุคลากร รพ.รร.จปร. ทราบ
๓. เก็บข้อมูลด้านสุขภาพของบุคลากร รพ.รร.จปร. ในวันแรกของการจัดกิจกรรม
๔. จัดกิจกรรมพบกลุ่มในทุกวันพุธที่ ๑ และ ๓ ของทุกเดือน เวลา ๑๕๐๐ –๑๖๐๐
๕. เก็บข้อมูลด้านสุขภาพของบุคลากร รพ.รร.จปร. ทุกเดือน
๖. สรุปผลการดำเนินงาน
๗. มอบรางวัลแก่หน่วยงานที่ชนะเลิศ

ระยะเวลาดำเนินการ
เริ่มดำเนินการตามโครงการฯ ตั้งแต่ ๑ มิ.ย. ๕๓ - ๓๑ พ.ค. ๕๔ ( เฉพาะวันพุธที่ ๑ และ ๓
ของเดือน เวลา ๑๕๐๐ – ๑๖๐๐ ) จำนวน ๒๔ ครั้ง

งบประมาณ
ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงานประกันสุขภาพถ้วนหน้า รพ.รร.จปร.
จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท ( สองหมื่นบาทถ้วน ) มีรายละเอียดดังนี้
๑. ค่าตอบแทนวิทยากร ( ๑ ท่าน X ๒๐๐ บาท X ๔ วัน ) เป็นเงิน ๘๐๐ บาท
๒. ค่าเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ ฯ ( ครั้งละ ๖๐ คน X คนละ ๕ บาท X จำนวน ๒๔ ครั้ง )
เป็นเงิน ๗,๒๐๐ บาท
๓. ค่าของรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศประเภททีม จำนวน ๔ รางวัล ๆ ละ ๓,๐๐๐ บาท
เป็นเงิน ๑๒,๐๐๐ บาท

ผู้รับผิดชอบโครงการ งานสร้างเสริมสุขภาพ หน่วยบริการปฐมภูมิ รพ.รร.จปร.

กลุ่มเป้าหมาย บุคลากร รพ.รร.จปร. จำนวน ๑๒๐ นาย

ประโยชนที่ได้รับ
บุคลากร รพ.รร.จปร. มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีพฤติกรรมสุขภาพที่ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ปลูกฝังเจตคติกำลังพล รพ.รร.จปร. และผู้เข้าร่วมโครงการ ฯ ให้สามารถลดความอ้วนได้
๒. ผู้ร่วมโครงการ ฯ เกิดความตระหนักและช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน
๓. ผู้ร่วมโครงการ ฯ มีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดความอ้วน
๔. ปลูกฝังความสามัคคีในหมู่คณะในกลุ่มบุคลากร รพ.รร.จปร.

การประเมินผล
๑. บุคลากร รพ.รร.จปร. ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการฯ ร้อยละ ๑๐๐
๒. มีผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

ประกอบด้วย
๑ พ.อ.ธนา สุรารักษ์ หัวหน้า
๒ พ.ท.หญิงกนกพร ศรีพิทักษ์ กรรมการ
๓ พ.ต.หญิงฉวีวรรณ แน่นอน กรรมการ
๔ พ.ท.พรมทอง บุญจันทร์ เลขาฯ
๕ จ.ส.อ.หญิงกัลยรัตน์ จันทราสินธุ์ ผช.เลขาฯ
หน้าที่
๑.วางแผนด้านพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและเกิดประสิทธิภาพ สอดคล้องกับพันธกิจ
แผนยุทธศาสตร์ โครงสร้างองค์กร และทรัพยากรของโรงพยาบาล
๒.กำกับดูแลองค์กรวิชาชีพให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ
๓.ส่งเสริมและดำเนินการให้มีการเพิ่มพูนความรู้ และทักษะของบุคลากร
๔.สรรหา และคัดเลือกเพื่อให้ได้เจ้าหน้าที่ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด
๕.ประเมินและส่งเสริมให้มีความผูกพันของบุคลากรในองค์กร
๖.ประเมิน และดูแลสุขภาพบุคลากรในองค์กร
๗.สรุปผลลัพธ์และนำเสนอผลงานคุณภาพด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

โครงการภาระงานและการวางแผนบุคลากร


มอบรางวัลประเมินผลการปฏิบัติงานและภาระงาน คลิก!!!

หลักการและเหตุผล
ตามที่ กพร. และ กพ.ทบ. ได้เห็นความสำคัญในการจัดทำภาระงานขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินค่าการปฏิบัติงานงานของกำลังพล เนื่องจากภาระงาน ( work load ) เป็นข้อมูลที่สำคัญในการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กร เพราะจะเป็นตัวบอกปริมาณงานที่บุคลากรขององค์กรได้ปฏิบัติ และถ้าได้นำภาระงานทั้งหมดของบุคลากรมารวมกันจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าปริมาณงานทั้งหมดนั้นเป็นงานที่องค์กรมีเพื่อไปสู่เป้าหมายองค์กรและนำมาวางแผนบุคลากร และการพัฒนาบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รพ.รร.จปร. มีข้อจำกัดในการได้รับบุคลากรตามกรอบอัตราการจัดหน่วย จึงมีความจำเป็นต้องมีการวางแผนบุคลากร เพื่อให้ปฏิบัติภารกิจของหน่วยให้บรรลุเป้าหมายทั้งของนโยบายหน่วยเหนือ หน่วยข้างเคียง และนโยบายของรัฐบาล จึงเล็งเห็นความสำคัญในการจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของฝ่ายบริหารต่อไป
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อทราบจำนวนภาระงานทั้งหมดของ รพ.
๒. วางแผนบุคลากรให้เหมาะสม
๓. นำมาประกอบการบริหารบุคลากร
๔. ฝึกการเขียนภาระงานให้กำลังพลได้จัดทำ เพื่อยืนยันการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อความโปร่งใสในการปฏิบัติงานเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
กลุ่มเป้าหมาย นายทหารประทวน และลูกจ้าง ประมาณ ๑๐๐ คน
ระยะเวลา ๑ ต.ค.๕๒ – ๓๐ มิ.ย.๕๓
วิธีดำเนินการ
๑. ประชุมชี้แจงและสอนวิธีการจัดทำ
๒. ดำเนินการจัดทำสมุดคู่มือภาระงาน
๓. ประมวลผลและแจ้งผู้ปฏิบัติ
๔. ประกาศผลการปฏิบัติและให้รางวัลและเกียรติบัตรเชิดชู
งบประมาณ จากเงินรายรับสถานพยาบาล รพ. เป็นค่าอุปกรณ์สำนักงาน และเงินรางวัล ดังนี้
๑. รางวัลประเมินผลการปฏิบัติงานและภาระงานของลูกจ้าง จำนวน ๗,๐๐๐ บาท
๒. รางวัลประเมินผลการปฏิบัติงานและภาระงานของนายทหารประทวน จำนวน ๘,๒๐๐ บาท
ตัวชี้วัด
- ร้อยละของนายทหารประทวนและลูกจ้าง รพ.ที่จัดทำภาระงานส่ง = ๑๐๐ %
- การนำคะแนนเฉลี่ยการจัดทำภาระงานมาเป็นส่วนหนึ่งในพิจารณาบำเหน็จประจำปี
- การนำผลของการประเมินมาวางแผนบุคลากร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. รพ.รร.จปร. ได้ทราบจำนวนงานที่แท้จริงในระดับผู้ปฎิบัติงาน เพื่อมาวางแผนบุคลากร
๒. เป็นการพัฒนากำลังพลระดับนายทหารประทวน และลูกจ้างในการมีทักษะในการเขียนหนังสือ
๓. ผู้บังคับบัญชาหน่วยรองได้รับทราบการปฏิบัติงานของผู้ไต้บังคับบัญชา
๔. สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการบริหารงานบุคลากร